สิทธิประโยชน์
สิทธิประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชน
- การสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในสถานแรกรับ/สถานสงเคราะห์/สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ/สถานพัฒนาและฟื้นฟู
1.1 การดูแลเด็กในสถานแรกรับ (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มีสถานแรกรับเด็กชาย-หญิง จำนวน 2 แห่ง ใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี
1.2 การดูแลเด็กอ่อนในสถานสงเคราะห์ (รับเด็กแรกเกิด-5 ปี) มี 8 แห่ง ใน 7 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี ขอนแก่น สงขลา เชียงใหม่ อุดมธานี และนครศรีธรรมราช
1.3 การดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็ก (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 15 แห่ง ใน 14 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สระบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา นครศรีธรรมราช และสงขลา
1.4 การดูแลเด็กในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพเด็กและเยาวชน (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 1 แห่ง ที่จังหวัดศรีสะเกษ
1.5 การดูแลเด็กในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 4 แห่ง ที่จังหวัดขอนแก่น ระยอง นนทบุรีและปทุมธานี
1.6 การดูแลเด็กในสถานพัฒนาและฟื้นฟู (รับเด็กอายุ 6-18 ปี) มี 4 แห่ง ที่จังหวัดชลบุรี ลำปาง หนองคายและสุราษฎร์ธานี
1.7 การจัดบริการที่พักชั่วคราวแก่เด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง โดยเป็นสถานแรกรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และเป็นสถานที่รับตัวชั่วคราวตามกฎหมาย 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ดำเนินการในบ้านพักเด็กและครอบครัว 36 แห่งทั่วประเทศ
- การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและพัฒนาเด็กในครอบครัวชุมชน
2.1 สงเคราะห์เด็กในครอบครัว มีการจัดบริการสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน ประสบปัญหาความเดือดร้อนและสงเคราะห์เด็กนักเรียนขาดแคลน ดังนี้
- การให้คำปรึกษาแนะนำ
- การให้การช่วยเหลือเป็นเงิน สิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์การศึกษา หรือให้การช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของในคราวเดียวกัน ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท ต่อเด็กหนึ่งคนในครอบครัว และไม่เกิน 3,000 บาท สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเกินกว่าหนึ่งคน
2.2 การจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์
เป็นการบริการจัดหาครอบครัวทดแทนชั่วคราวให้กับเด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งมีผู้เลี้ยงดูไว้ในครอบครัว อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปีบริบูรณ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เจริญเติบโตอยู่ในครอบครัวแทนการเลี้ยงดูเด็กไว้ในสถานสงเคราะห์ หากครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็กประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจ จะได้รับการสนับสนุนเป็นเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็ก รายละไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน และ/หรือช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กเดือนละไม่เกิน 500 บาท กรณีเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่อุปการะเด็กมากกว่า 1 คน ช่วยเหลือเงินค่าเลี้ยงดูเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และ/หรือช่วยเหลือเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการสงเคราะห์เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ พ.ศ. 2544 และประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เรื่อง อัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็กแก่ครอบครัวอุปถัมภ์ และ/หรือ ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กตามความจำเป็น
2.3 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
เป็นการดำเนินงานด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยการจัดหาครอบครัวทดแทนที่มีลักษณะถาวร ซึ่งเป็นครอบครัวบุญธรรมชาวไทยที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือครอบครัวบุญธรรมชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งในด้านกฎหมายและด้านของสังคมของประเทศนั้น ๆ ให้กับเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งที่อยู่ในความอุปการะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เด็กกำพร้าที่อยู่ในความอุปการะขององค์การสวัสภาพเด็ก (เฉพาะครอบครัวบุญธรรมชาวต่างประเทศ) เด็กที่บิดามารดาที่แท้จริงยินยอมยกให้ เนื่องจากไม่สามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูได้และเด็กที่มีคำสั่งศาลแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดาเด็ก โดยดำเนินงานภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533
- กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- พระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.3.1 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของชาวไทย จุดบริการ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
คุณสมบัติผู้ขอรับบริการ
- คุณสมบัติตามกฎหมาย : ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ
1.1 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ (นับตั้งแต่วันเกิด ถึงวันที่ยื่นคำร้อง)
1.2 ต้องมีอายุแก่กว่าเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
1.3 ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- คุณสมบัติทางสังคม
2.1 กรณีขอรับเด็กกำพร้า ควรมีคู่สมรสตามกฎหมาย เพื่อเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ มีทั้งบิดามารดา และไม่ควรมีอายุห่างจากเด็กมากเกินไป
2.2 มีฐานะการครองชีพและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่นคง / มีที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ดี / มีเวลาพร้อมให้กับเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม
2.3 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างประเทศ จุดบริการ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สถานเอกอัครราชทูต / หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ / องค์กรสวัสดิภาพเด็กในต่างประเทศ
คุณสมบัติผู้ขอรับบริการ
- ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องมีอายุมากกว่าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
- จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย กรณีผู้ขอรับฯ ยื่นคำขอในประเทศไทยจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย ๖ เดือน และมีระยะเวลาสำหรับการทดลองเลี้ยงดูเด็กไม่น้อยกว่าหกเดือน
- ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีบุตรอยู่ในความอุปการะ 3 คนขึ้นไป จะมีการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอฯ
- ต้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- กรณีขอรับเด็กกำพร้าควรมีคู่สมรสตามกฎหมาย เพื่อเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ มีทั้งบิดามารดาและไม่ควรมีอายุห่างจากเด็กมากเกินไป
2.4 การอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพื่อช่วยในการพัฒนาและคุ้มครองสวัสดิภาพ เด็ก / เยาวชน อายุแรกเกิด-18 ปี ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพเหมาะสมตามวัย เพื่อส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการอนุญาตให้จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน และสนับสนุนการดำเนินงานโดยการตรวจเยี่ยม ให้คำแนะนำ การพัฒนาบุคลากร อาหารเสริมและสื่อพัฒนาการเด็กตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เป็นต้น
2.5 การจัดบริการสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรหลานข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เด็กปฐมวัย (0-6 ปี) ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาศักยภาพตามวัยอย่างเหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) โทรศัพท์ 0 2255 5850-7,0 2253 9116-7 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0 2651 6483
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทรศัพท์ 026516534, 026516902, 026516920
ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โทรศัพท์ 02-3547509, 02-6447996 โทรสาร 02-3547511
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2580-0737 , 0-2580-0738 โทรสาร 0-2590-2734
สิทธิประโยชน์สำหรับสตรี
สตรีด้อยโอกาส เยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง สตรีที่ประสบปัญหาทางสังคม จะได้รับ :
- การฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี 8 แห่ง คือ
1.1 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี
1.2 ศูนย์ฝึกอาชีพสตรีเชียงราย จังหวัดเชียงราย
1.3 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคเหนือ จังหวัดลำปาง
1.4 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ
1.5 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ จังหวัดสงขลา
1.6 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีรัตนาภา จังหวัดขอนแก่น
1.7 ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน
1.8 ศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จังหวัดชลบุรี ภายหลังสำเร็จการอบรมมีบริการจัดหางานให้ทำตามความสมัครใจ
- การคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพเด็กและสตรี
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ 4 แห่ง ได้แก่
2.1 สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ จังหวัดนนทบุรี
2.2 สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ จังหวัดนครราชสีมา
2.3 สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านสองแคว จังหวัดพิษณุโลก
2.4 สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. การฝึกอาชีพ หลักสูตร 88 วัน แก่สตรีและประชาชนทั่วไปในชุมชนตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว โดยจัดฝึกอบรมภายในชุมชน ภายหลังสำเร็จการอบรมให้การสนับสนุนรวมกลุ่มประกอบอาชีพภายในพื้นที่
4. การอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการถูกล่อลวง
5. ประสานการให้ความช่วยเหลือทางคดี แก่สตรีและเด็กที่ประสบปัญหาการค้าประเวณีหรือ ถูกล่อลวงไปค้าประเวณีในและต่างประเทศหรือถูกละเมิดสิทธิต่างๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โทรศัพท์ 0-2306-8746 , โทรสาร 0-2306-8781
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2580-0737 , 0-2580-0738 โทรสาร 0-2590-2734
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ประสงค์จะขอรับบริการตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ข้อ (8) (9) (10) คือ การช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการทารุณกรรม หรือถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง ต้องการคำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการแก้ไขปัญหาครอบครัว จัดที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่มห่มให้ตามความเหมาะสม และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ให้บริการในจังหวัดต่างๆ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ลำปาง เชียงใหม่ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครพนม ภูเก็ต สงขลา และยะลา บริการที่จัดให้ได้แก่
- ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศงานสวัสดิการผู้สูงอายุ ให้บริการ ทำเนียบเครือข่ายดำเนินงานผู้สูงอายุ คลังปัญญาผู้สูงอายุ สถานการณ์และสถิติข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุในพื้นที่ให้บริการ ข้อมูลการให้บริการ การดำเนินงานของศูนย์ฯ รวมถึง ข้อมูลผู้ใช้บริการ
- ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา ให้การฝึกอบรมสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
- ศูนย์การเรียนรู้ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ถ่ายทอดภูมิปัญญา อาชีพ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกอบรม
- ศูนย์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุแบบสถาบัน เป็นการจัดบริการในสถาบันตามมาตรฐานที่กำหนด และมีรูปแบบการจัดบริการผู้สูงอายุตามสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของผู้สูงอายุ
- ศูนย์การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้อาศัยอยู่กับครอบครัว ชุมชน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น องค์กรประชาชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการครอบคลุมทุกมิติ (สุขภาพ สังคม ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม)
- ศูนย์บริการให้คำแนะนำ ปรึกษา และส่งต่อ มีบริการให้คำแนะนำ ปรึกษาหลายช่องทาง เช่น ปรึกษาโดยตนเองที่ศูนย์ฯ ปรึกษาทางโทรศัพท์ ปรึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค ออกหน่วยบริการให้คำปรึกษา และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมกิจการผู้สูงอายุ โทรศัพท์ 0-2642-4336 โทรสาร 0-2642-4307
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี โทร.0-2580-0737 ,0-2580-0738 โทรสาร 0-2590-2134
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้พิการ
สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 มีสิทธิได้รับบริการต่างๆ ดังนี้
- การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคมในสถาบัน
ปัจจุบันมีสถานสงเคราะห์ฯ จำนวน 11 แห่ง ในจังหวัดนนทบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี และอุบลราชธานี
- การจัดบริการในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
ให้บริการด้านสุขภาพ รณรงค์ป้องกันความพิการ การฟื้นฟูอาชีพ และการฟื้นฟูทางสังคม โดยหน่วยงานให้บริการคนพิการในพื้นที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน ในปีต่อไปโอนให้องค์กรปกครองรับไปดำเนินการ ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ
- การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพคนพิการ ดำเนินการทั้ง
3.1 ในสถาบัน ซึ่งมีศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ 8 แห่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลพบุรี หนองคาย และอุบลราชธานี มี 15 สาขาอาชีพ มีหลักสูตรระยะ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 10 เดือน 1 ปี และหลักสูตรระยะสั้น 30 ชั่วโมง
3.2 ในชุมชนจัดวิทยากรให้ตามคำร้องขอของชุมชนและเปิดฝึกอบรมในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน
3.3 ศูนย์พัฒนาอีพคนพิการ (โรงงานในอารักษ์) จังหวัดนนทบุรี รับคนพิการที่มีความรู้และมีความประสงค์ในการประกอบอาชีพ มีรายได้ ให้บริการที่พักและอื่นๆฟรี สำหรับรายได้ของคนพิการได้ตามความสามารถของคนพิการแต่ละคน
- การให้การสงเคราะห์ครอบครัว
- การให้การสงเคราะห์กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการ
- การจัดหางานให้ทำหรือส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระ
- ให้บริการเด็กออทิสติก 2 หน่วย คือ
7.1 ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น
7.2 ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จังหวัดนนทบุรี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทรศัพท์ 0-2354-3388 โทรสาร 0-2354-5020
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี 0-2580-0737 , 0-2580-0738 โทรสาร 0-2589-2134
ศูนย์คนพิการจังหวัดนนทบุรี 0-2589-7235 โทรสาร 0-2589-7236
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ไร้ที่พึ่ง
คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน จะได้รับ :
- การอุปการะในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง 11 แห่งใน 10 จังหวัด คือ จังหวัด ปทุมธานี พิษณุโลก เพชรบุรี นครราชสีมา สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช
และสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง 2 แห่ง คือจังหวัดนนทบุรี และเชียงใหม่
- คำแนะนำด้านบริการ และการช่วยเหลือจากหน่วยสำรวจและช่วยเหลือ คนเร่ร่อน ขอทาน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทร 0-2659-6399
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี 0-2580-0737 ,0-2580-0738 โทรสาร 0-2950-2134
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV
ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ จะได้รับ :
- การอุปการะเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน 4 แห่ง คือ นนทบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี และสงขลา
- การสงเคราะห์ครอบครัวๆละ ไม่เกิน 2,000 บาท ติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
- การสงเคราะห์เงินทุนประกอบอาชีพสำหรับสตรีที่ติดเชื้อ หรือได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ รายละไม่เกิน 5,000 บาท
- การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวๆละไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเด็กหนึ่งคน และไม่เกิน 3,000 บาท ในกรณีที่มีเด็กมากกว่าหนึ่งคน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทร0-2659-6399
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด โทร 0-2580-0737 , 0-2580-0738 โทรสาร 0-2950-213
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐)
สิทธิประโยชน์ ที่ได้รับตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐) เป็นกฎหมายแม่บทในการจัดระบบ ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดสวัสดิการสังคมทั้งของภาครัฐและเอกชน สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามกฎหมายส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ได้แก่
๑. การรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ มูลนิธิสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคม หรือองค์กรภาคเอกชนที่มีผลงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมสามารถยื่นคำขอ รับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
๒. การรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคประชาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่สมาชิกใน ชุมชนหรือที่ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชนสามารถยื่นคำขอ รับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน
๓. การเข้าร่วมเป็นกรรมการ
– องค์กรสาธารณประโยชน์และองค์กรสวัสดิการชุมชนสามารถส่งผู้แทนเพื่อเลือกกัน เองเป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกรุงเทพมหานคร
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถส่งผู้แทนเพื่อเลือกกันเองเป็นกรรมการในคณะ กรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด
– องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สนใจสามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหา เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
๔. ข้อมูล มีการจัดทำระบบข้อมูลและทะเบียนกลางองค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครและผู้รับบริการ ทำให้องค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเพื่อการปฏิบัติงานและ วางแผน โดยเปิดดูข้อมูลได้ที่ www.m-society.go.th/msosocial.php
๕. การพัฒนาบุคลากร องค์การสวัสดิการสังคมสามารถส่งนักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความ สามารถในการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์และการจัดสวัสดิการสังคม
๖. การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงาน องค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร สามารถขอรับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม
๗.เงินทุน องค์การสวัสดิการสังคมสามารถเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนส่ง เสริมการจัดสวัสดิการสังคมได้ตลอดทั้งปี นอกจากนั้นสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการเชิงประเด็น / กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ที่กองทุนได้กระจายเงินไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นในทุกจังหวัดและ กรุงเทพมหานคร
๘. การลดหย่อนภาษี ประชาชนหรือหน่วยงานที่บริจาคเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม สามารถนำเงินบริจาคไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้
๙. การได้รับสิทธิและการคุ้มครองทางสังคม กฏหมายส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมให้อำนาจคณะกรรมการส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคมทั้งในระดับชาติและจังหวัดในการออกข้อกำหนด ระเบียบ ประกาศต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดสวัสดิการสังคม เช่น การกำหนดบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมาย สาขาลักษณะหรือรูปแบบและวิธีการในการจัดสวัสดิการสังคม มาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม การประสานงาน การส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งจะทำให้ประชาชน เช่น เด็ก เยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกละเมิดทางเพศหรือกลุ่มเป้าหมายอื่นตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคมแห่งชาติกำหนด ได้รับสิทธิและการคุ้มครองในการรับบริการด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ
๑๐. การให้ข้อเสนอแนะและเข้ามามีส่วนร่วม องค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้แก่ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การเอกชน สถาบันศาสนา องค์การวิชาชีพและองค์กรอื่นๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม เช่น เข้าร่วมประชุม สัมมนาและร่วมงาน (งานวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ งานวันอาสาสมัครไทย การประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคม) รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะนโยบาย มาตรการ การจัดทำแผน ตลอดจนการให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนางาน สวัสดิการสังคม นอกจากนั้นองค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์และอาสาสมัครได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและการยกย่องเชิดชู เกียรติตามข้อกำหนด ระเบียบและประกาศต่างๆตามที่คณะกรรมการหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด เช่น องค์กรสาธารณประโยชน์สามารถรับข้าราชการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครได้ปีละ ๕ วันทำการโดยไม่ถือเป็นวันลา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ โทรศัพท์ 02-659-6399
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี โทร 0-2580-0737- 0-2580-0738 โทรสาร 0-2950-2134
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนนทบุรี ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2580-0737, 0-2580-0738 โทรสาร 0-2950-2134, 0-2580-0738 ต่อ 19 website: www.nonthaburi@m-society.go.th, E-mail : nonthaburi@m-society.go.th
Facebook : facebook.com/nonthaburi24, Facebook page : facebook.com/nonthaburiSDHC